นางจุติมาพร เชียงกา .............ยิน ดี ต้อน รับ ทุก ท่าน *********** ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมคะ......
....เวลาที่ผ่านมาแม้จะย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้.... แต่เราปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ในอนาคต juti.06@gmail.com

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ แนวความคิดพื้นฐาน(Basic Assumption) จากทฤษฎี การจูงใจของ Molivation Theory เชื่อว่า
มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ
มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบขีดจำกัด
จากทฤษฎีการจูงใจของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ
ความสำเร็จ การยกย่อง ความก้าวหน้า ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ความเจริญเติบโต
จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมีบุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้
องค์การต้องใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน และแตกต่างกันอย่างรวดเร็ว
เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม
การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee)
กรรมการให้คำแนะนำ
การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin)
การติดต่อสื่อสารแบบประตู
การระดมความคิด
การฝึกอบรมแบต่าง ๆ
การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)
วิธีการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่ 1. ระดับบุคคล เป็นวิธีการพิจารณาและปรับปรุงบุคคลให้ได้ดีขึ้น 3 แบบ คือ 1.1 การฝึกอบรมให้มีความรู้สึกไว (Sensitivity Training ) เพื่อ ให้เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ ให้รู้จักยอมรับ และพัฒนาตนเอง ได้เข้าใจและยอมรับผู้อื่นให้มากขึ้น ให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้น
เพื่อให้มีความสุข มีขวัญ และกำลังใจดีขึ้น เพื่อให้มีการงานดีขึ้น 1.2 การวิเคราะห์การติดต่อ (Transactional Analysis )เป็นวิธีการติดต่อที่แลกเปลี่ยนด้วยภาษาและไม่ใช่ภาษาระหว่างบุคคล Erio Berne ชี้ให้เห็นว่า การติดต่อระหว่างบุคคลมี3 แบบ คือ แบบพ่อแม่ (Parent ) ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ (Adult) เด็ก (Child) 1.3 การนั่งสมาธิแบบควบคุมจิต (Trancendental Meditation) คือ การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด และเพื่อความคิดสร้างสรรค์
2. ระดับกลุ่ม
การรวมกลุ่มแบบครอบครัว (Family Grouping)
การฝึกอบรมเพียงในนาม (Norminal Group Training ) หมายถึง บุคคลถูกรวมเข้าเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้สื่อสารด้วยวาจา จะเป็นการประชุมพร้อมกันที่โต๊ะเพื่อแก้ปัญหา ต้องการใช้คำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกจะใช้เวลาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยไม่พูดจากัน
เทคนิค เดลไพ (SDelphi Technique)เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดกลุ่มที่ปรึกษาและกลุ่มผู้ตอบ แล้วสร้างแบบสอบถามส่งไปรษณีย์ ผู้ตอบมายังทีมที่ปรึกษา แล้วเอามาสรุปการตแบสอบถาม
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด
ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน
ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น
ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร
สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม
ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลดน้อยลง และทำให้ผลงานดีชึ้น
สาเหตุที่ทำให้บริหารล้มเหลว
ผู้บริหารบางคนประสบความล้มเหลวในการบริหาร ในการบริหาร หรือ หากไมล้มเหลวก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ความล้มเหลวย่อมต้องมีสาเหตุ ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
ความเล้วเหลวทางด้านความรู้(Knowledge Failurds) ความล้มเหลวในเรื่องต่าง ๆทั้งทางด้านนโยบายและวิธีการปฏิบัติ ความรู้ทางเนื้อหาวิชาที่จำเป็นต้องศึกษาไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาตลอดจนขาดความรู้ทางด้านกฏหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ความล้มเหลวทางด้านส่วนบุคคล (Personality Faliures) ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพส่วนบุคคลมีความสำคัญพอ ๆ กับความล้มเหลวทางด้านความรู้ ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพมีสาเหตุมาจากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ เพราะเกิดความกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด ผู้บริหารบางคนขาดความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่กระจายความรับผิดชอบให้กับผู้ร่วมงานและไม่สามารถวิเคาระห์และประเมินผู้ร่วมงานได้
ปัญญหาของผู้บริหาร
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในองค์การไม่เพียงแต่จะเป็นผลต่อบุคคลข้างเคียงแล้ว และชุมชนด้วยปัญหาเหล่านี้ได้แก่
ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างของบุคลในองค์การ (Typical Problem)
ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานในองค์การ (The Problem of interelationship)
ปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเอกสารและคำพูดของบุคคลในองค์การ (The Problem of conmmunication)
ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (The Problem of Change)
ต้นเรื่องจาก : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
บุญรักษาจ้าพี่น้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น