นางจุติมาพร เชียงกา .............ยิน ดี ต้อน รับ ทุก ท่าน *********** ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมคะ......
....เวลาที่ผ่านมาแม้จะย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้.... แต่เราปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ในอนาคต juti.06@gmail.com

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คิดถึงจัง

หล่อๆสวยๆ ทั้งนั้นเลย

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ แนวความคิดพื้นฐาน(Basic Assumption) จากทฤษฎี การจูงใจของ Molivation Theory เชื่อว่า
มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ
มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบขีดจำกัด
จากทฤษฎีการจูงใจของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ
ความสำเร็จ การยกย่อง ความก้าวหน้า ลักษณะงาน ความรับผิดชอบ ความเจริญเติบโต
จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมีบุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้
องค์การต้องใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน และแตกต่างกันอย่างรวดเร็ว
เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม
การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee)
กรรมการให้คำแนะนำ
การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin)
การติดต่อสื่อสารแบบประตู
การระดมความคิด
การฝึกอบรมแบต่าง ๆ
การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)
วิธีการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่ 1. ระดับบุคคล เป็นวิธีการพิจารณาและปรับปรุงบุคคลให้ได้ดีขึ้น 3 แบบ คือ 1.1 การฝึกอบรมให้มีความรู้สึกไว (Sensitivity Training ) เพื่อ ให้เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ ให้รู้จักยอมรับ และพัฒนาตนเอง ได้เข้าใจและยอมรับผู้อื่นให้มากขึ้น ให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้น
เพื่อให้มีความสุข มีขวัญ และกำลังใจดีขึ้น เพื่อให้มีการงานดีขึ้น 1.2 การวิเคราะห์การติดต่อ (Transactional Analysis )เป็นวิธีการติดต่อที่แลกเปลี่ยนด้วยภาษาและไม่ใช่ภาษาระหว่างบุคคล Erio Berne ชี้ให้เห็นว่า การติดต่อระหว่างบุคคลมี3 แบบ คือ แบบพ่อแม่ (Parent ) ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ (Adult) เด็ก (Child) 1.3 การนั่งสมาธิแบบควบคุมจิต (Trancendental Meditation) คือ การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด และเพื่อความคิดสร้างสรรค์
2. ระดับกลุ่ม
การรวมกลุ่มแบบครอบครัว (Family Grouping)
การฝึกอบรมเพียงในนาม (Norminal Group Training ) หมายถึง บุคคลถูกรวมเข้าเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้สื่อสารด้วยวาจา จะเป็นการประชุมพร้อมกันที่โต๊ะเพื่อแก้ปัญหา ต้องการใช้คำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกจะใช้เวลาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยไม่พูดจากัน
เทคนิค เดลไพ (SDelphi Technique)เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดกลุ่มที่ปรึกษาและกลุ่มผู้ตอบ แล้วสร้างแบบสอบถามส่งไปรษณีย์ ผู้ตอบมายังทีมที่ปรึกษา แล้วเอามาสรุปการตแบสอบถาม
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด
ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน
ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ
ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น
ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร
สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม
ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลดน้อยลง และทำให้ผลงานดีชึ้น
สาเหตุที่ทำให้บริหารล้มเหลว
ผู้บริหารบางคนประสบความล้มเหลวในการบริหาร ในการบริหาร หรือ หากไมล้มเหลวก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ความล้มเหลวย่อมต้องมีสาเหตุ ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
ความเล้วเหลวทางด้านความรู้(Knowledge Failurds) ความล้มเหลวในเรื่องต่าง ๆทั้งทางด้านนโยบายและวิธีการปฏิบัติ ความรู้ทางเนื้อหาวิชาที่จำเป็นต้องศึกษาไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาตลอดจนขาดความรู้ทางด้านกฏหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ความล้มเหลวทางด้านส่วนบุคคล (Personality Faliures) ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพส่วนบุคคลมีความสำคัญพอ ๆ กับความล้มเหลวทางด้านความรู้ ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพมีสาเหตุมาจากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ เพราะเกิดความกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด ผู้บริหารบางคนขาดความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่กระจายความรับผิดชอบให้กับผู้ร่วมงานและไม่สามารถวิเคาระห์และประเมินผู้ร่วมงานได้
ปัญญหาของผู้บริหาร
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในองค์การไม่เพียงแต่จะเป็นผลต่อบุคคลข้างเคียงแล้ว และชุมชนด้วยปัญหาเหล่านี้ได้แก่
ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างของบุคลในองค์การ (Typical Problem)
ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานในองค์การ (The Problem of interelationship)
ปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเอกสารและคำพูดของบุคคลในองค์การ (The Problem of conmmunication)
ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (The Problem of Change)
ต้นเรื่องจาก : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
บุญรักษาจ้าพี่น้อง

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

“การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข”
ความสำคัญด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งขาติ พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะในหมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 ได้กล่าวไว้ว่า“การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”
ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็นผู้เอื้อ อำนวยความสะดวก(Facilitator)ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกกรมให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยาภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ศึกษาและค้นคว้าได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระ ความรู้ ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man ) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn ) มากกว่าสอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ มากกว่าเน้นที่เนื้อหาวิชาดังที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี (2541:72) ได้กล่าวไว้ว่า
“…ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ใหม่จากการเอาวิชาเป็นตัวตั้งไปสู่การเอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง เรียนจาก ประสบการณ์และกิจกรรม จากการฝึกหัดจากการตั้งคำถามและจากการแสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้ ้กล้าแข็ง ทำงานเป็น ฝึกคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การรวมกลุ่ม การจัดการ การรู้จักตน…”
จึงเห็นได้ว่า “การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ทักษะ และเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็น คนเก่ง คนดีและความสุข”ตามเป้าหมายการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management : SBM)
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ระบบบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาน ศึกษาประสบความสำเร็จ โดยสถานศึกษาต้องจัดทำสาระของเน้นความหลักสูตรที่สอดคล้องความต้องการของ ท้องถิ่น ชุมชน และผู้เรียน เน้นความหลากหลาย และมุ่งพัฒนาให้ความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบกับจัดกระบวนการเรียนรู้ และประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 และมาตรา 26 กล่าวคือ
มาตรา 24 จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำ เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
(5) รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียน การสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียน การสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ และให้นำผลการ
ประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย…”
นอกจากนี้ สถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษาได้รับการศึกษาและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและจัดเครือ ข่ายแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนและผู้เรียนนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษามาใช้ เป็นเครื่องมือและแสวงหาความรู้ตามศักยภาพ ตามความเหมาะสม
ดังนั้น การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Base Management : SBM) จึงนับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ผู้เขียนจึงได้สรุปสาระสำคัญ และนำเสนอไว้ดังต่อไปนี้
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นรูปแบบของการบริหารที่ให้ความสำคัญที่โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการ บริหารจัดการ ยึดโรงเรียนเป็นฐานในการคิดและบริหารจัดการ โดยมีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาไปสู่โรงเรียนโดยตรง ให้โรงเรียนดูแลรับผิดชอบ ตัดสินใจบริหารงานและดำเนินการได้ด้วยโรงเรียนเอง ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น จึงเริ่มที่หลักการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาโดยตรง ให้สถานศึกษาที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการโรงเรียนแบบ เบ็ดเสร็จในตัวเอง จึงทำให้มีอิสระ มีความคล่องตัวในการตัดสินใจ สั่งการเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนในทุกด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไป สิ่งสำคัญที่เด่นชัดอีกประการหนึ่งของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ “การมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมจากทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ทั้งในรูปของคณะกรรมการ หน่วยงาน องค์กร บุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน ของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ การมีคณะกรรมการโรงเรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนได้นำแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมเข้า มาดำเนินการ ซึ่งมีผู้แทนมาจากส่วนต่าง ๆ ของสังคม ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสถานศึกษา
นอกจากหลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม และหลักการบริหารด้วยตนเอง จึงกล่าวไว้แล้วนั้นยังมีเรื่อง “ภาวะผู้นำ” โดยทั้งผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำระดับต่าง ๆ ของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ จะต้องพัฒนาคุณภาพของตนเองให้มี “ภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน” มีทักษะด้านวิสัยทัศน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านความสัมพันธ์ชุมชน และด้านการประเมิน ตรวจสอบและรายงาน
จากการที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ มาสู่การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ก็เพื่อให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้น เพื่อให้บริหารจัดการได้สอดคล้องตามสภาพปัญหาความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ตอบสนองต่อความสามารถ ความสนใจแความถนัดของผู้เรียนตามศักยภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน ชุมชนได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือทุกส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในลักษณะของการมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
รูปแบบในการดำเนินการของการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ชุมชนมีบทบาทหลัก (Community Control SBM) นั้น จะเป็นแบบที่เพิ่มความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนและผู้ปกครอง โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ผู้รับบริการการศึกษามีความพึงพอใจในการศึกษาที่จัดให้ มากที่สุด คณะกรรมการโรงเรียนจึงมีสัดส่วนจำนวนตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด เช่น คณะกรรมการสภาบริหารโรงเรียน (Board of trustees) ในประเทศนิวซีแลนด์ ประกอบด้วย ผู้แทน ผู้ปกครอง 5 คน ผู้แทนครู 1 คน ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนนักเรียน 1 คน (เฉพาะโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) และใน Chicago สหรัฐอเมริกา คณะกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง 6 คน ตัวแทนชุมชน 2 คน ผู้แทนครู 2 คน ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียน (เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ประธานคณะกรรมการมาจากกลุ่มผู้แทนชุมชนหรือผู้ปกครอง บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียน ก็คือ การทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารโรงเรียน
รูปแบบที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก (Administrative Control SBM) นั้น คณะกรรมการโรงเรียนที่ตั้งขึ้นจะมีบทบาทเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาของผู้ บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธานคณะกรรมการโดยตำแหน่ง คณะกรรมการจะประกอบด้วย ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน ตัวแทนนักเรียน (ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) คณะกรรมการมีบทบาทในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหาร แต่อำนาจการตัดสินใจในขั้นสุดท้ายจะยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน เช่น Edmonton ประเทศ Canada และรัฐ Texas สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์และโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทย
รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก (Professional Control SBM) นั้น เชื่อว่าครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด และเป็นผู้ปฏิบัติการสอนโดยตรง จึงย่อมจะรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ไว้ดีกว่าตัวแทนคณะครูจึงมีสัดส่วนมากที่สุดในคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธาน ผู้แทนครู จากสหภาพครู 1 คน ผู้แทนครูเลือกโดยกลุ่มผู้บริหารในโรงเรียนเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) และใน ี่สุด เช่น คณะกรรมการสภาบริหารโรงเรียน (ให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน ชุมชนไ 2 คน ผู้แทนครูซึ่งกลุ่มครูเลือกกันเอง 2 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 1 – 2 คน และสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน บทบาทของคณะกรรมการนี้จะเป็นทั้งกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการที่ปรึกษาและ กรรมการบริหารไปด้วยในตัว เช่น โรงเรียนในเขต Columbus รัฐ Ohio สหรัฐอเมริกา
รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก (Professional / Community Control SBM) ถือว่า ทั้งครูและผู้ปกครองต่างมีบทบาทและความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน สัดส่วนของผู้แทนครู ผู้ปกครอง / ชุมชน จะมีเท่า ๆ กันในคณะกรรมการโรงเรียน เช่น เมือง Salt Lake City รัฐ Utah สหรัฐอเมริกาและประเทศ Spain คณะกรรมการโรงเรียนทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
รูปแบบโรงเรียนในกำกับของรัฐ จะมีลักษณะเป็นโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐและมีฐานะเป็นหรือเสมือน เป็นองค์กรนิติบุคคล โรงเรียนดำเนินการของตนเองได้แบบอิสระ (Deregulation) จากกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนสามารถออกกฎระเบียบของตนเองได้ โดยเฉพาะมีความเป็นอิสระในเรื่องการจัดการด้านวิชาการ การเงินและบุคคล แต่โรงเรียนจะต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานตามพันธะสัญญา (Charter) หรือตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับหน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติให้เป็นโรงเรียนใน กำกับดูแลของรัฐ ไม่เป็นส่วนราชการหรือเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่จะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐ อาจเป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่หรือเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือเป็นโรงเรียนของ เอกชนที่มีอยู่เดิม แล้วปรับให้เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่จะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐ อาจเป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่หรือเป็นโรงเรียนหรือเป็นโรงเรียนของเอกชน ที่มีอยู่เดิมแล้วปรับให้เป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐก็ได้ ผู้ที่เสนอขอจัดอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กรของรัฐ หรือเอกชน เช่น ครู ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบล มูลนิธิ สมาคม บริษัท ก็ได้ จัดระบบภายในโรงเรียนของตนเองได้อย่างอิสระ แต่ต้องรับผิดชอบต่อผลงานตามเงื่อนไขข้อตกลง คณะกรรมการโรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย จัดทำแผนปฏิบัติ จัดสรรงบประมาณ ควบคุมและกำกับการบริหารงาน การจ้างและเลิกจ้างผู้บริหารโรงเรียน ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารโรงเรียนตามที่ได้รับมอบ หมายจากคณะกรรมการโรงเรียน ดูแลการจ้างและเลิกจ้าง การบังคับบัญชาครูและบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน
รูปแบบที่เป็นการบริหารโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ตอบสนองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ได้เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหรือมีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษาเองได้ทุกระดับและทุกประเทศ ในการจัดการศึกษาจะกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษา โดยตรง (ไม่ต้องผ่านเขตพื้นที่การศึกษา) ในระดับกระทรวงจะมีหน้าที่และบทบาทสำคัญอยู่ที่การกำหนดนโยบายระดับชาติ กำหนดมาตรฐาน และสนับสนุนงบประมาณส่วนกลาง แต่งบประมาณส่วนใหญ่สำหรับการดำเนินงานทางการศึกษานั้น จะได้มาจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ เอง การกำหนดคณะกรรมการโรงเรียนก็จะเป็นอำนาจโดยตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรจะประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งมากจากตัวแทนผู้ปกครองและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโรงเรียนจะมีบทบาท สำคัญในการคัดเลือกผู้บริหาร มีอำนาจในการจ้างหรือเลิกจ้างผู้บริหารโรงเรียน ส่วนผู้บริหารโรงเรียนจะมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารโรงเรียน การจ้างและการเลิกจ้าง การบังคับบัญชาครูและบุคลากรในโรงเรียน
รูปแบบการประกอบการของเอกชน เนื่องจากหลายฝ่ายเห็นว่าเอกชนจะมีความสามารถในการจัดการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในประเทศที่เน้นรูปแบบเศรษฐกิจเสรีนั้น การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา ไม่ใช่เรื่องของการแบ่งเบาภาระของรัฐ แต่เป็นหลักการสำคัญของระบบการดำเนินงานแบบเสรีที่มีการตอบสนองความต้องการ ของชุมชนที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นการศึกษาทางเลือกที่ผู้ประสงค์จะใช้บริการจะได้รับการประกันคุณภาพ ดังนั้น ผู้เรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง จะมีความรู้ ความสามารถ และเป็นที่ต้องการของสังคม
จะเห็นได้ว่า รูปแบบในการดำเนินงานของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น มีหลายรูปแบบ ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องพิจารณาเลือก และตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบใดที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน อย่างไรก็ตามในการดำเนินการบริหารการจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม ยังมีเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ซึ่งโรงเรียนควรได้พิจารณา ดังนี้
เงื่อนไขของความสำเร็จ
มีการกำหนดหน้าที่ ขอบข่าย บทบาท และคู่มือแนวทางการดำเนินงานและรวมกัน พัฒนาการศึกษา มีการปรึกษาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยปฏิบัติ
พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาอย่าง เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ปรับบทบาทและกระบวนการทำงานแบบกระจายอำนาจของทุกฝ่าย กระจายอำนาจให้ชุมชนมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยใช้การสร้างรากฐานทาง
ประชาธิปไตยร่วมกันตัดสินใจ สร้างระบบฐานข้อมูลในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ ประโยชน์ในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เหมาะสม
ปัจจัยที่เอื้อต่อการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้
กระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างแท้จริง
ได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพบุคลากรในสำนักงานเขตการศึกษาและในโรงเรียนต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานผู้บริหารมีความรู้ ความสามารถและมีภาวะผู้นำผู้บริหาร บุคลากรในโรงเรียน รู้บทบาทหน้าที่ของตน
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า การกระจายอำนาจการบริหารไปยังสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารตนเองมากขึ้น แต่ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องรู้จักปรับเปลี่ยนและทำหน้าที่ตามบทบาทใหม่ได้ มีหน่วยตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในสถานศึกษา มีความเต็มใจที่จะสนับสนุนในเรื่องการเงิน และเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา จะช่วยส่งเสริมให้การกระจายอำนาจได้ผลในเชิงบวกต่อคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน การสอน
ความเป็นมา
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management : SBM) เป็นแนวคิดใน การบริหารโรงเรียนที่ริเริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสการบริหารแนวใหม่ในทางธุรกิจที่เน้นความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ และผลักดันให้มีการกระจายอำนาจไปสู่หน่วยปฏิบัติให้มากที่สุด ในทางการศึกษาได้มีกระแสการปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังสถานศึกษา และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
สำหรับในประเทศไทย ถือว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าจองมีความมุ่งมั่น ผูกพัน และความรับผิดชอบในอำนาจหน้าที่การจัดการศึกษาของสถานศึกษา ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งจะต้องมีการปฏิรูประบบการบริหาร และการจัดการ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ
เมื่อประเทศไทยมีนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยได้กำหนดสาระเกี่ยวกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การดำเนินการให้เกิดผลตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และการใช้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด แนวทางดังกล่าวเป็น หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ได้แก่ หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา หลักการมีส่วนร่วม หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน หลักการบริหาร ตนเองและหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
หลักการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาโดยตรง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป หลักการมีส่วนร่วมได้กำหนดให้การบริหารสถานศึกษายึดหลักการให้สังคมและชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยบริหารในรูปคณะบุคคล เรียกว่าคณะกรรมการสถานศึกษา ตามมาตรา 40 มีตัวแทน 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทน ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทน องค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมี ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ มีบทบาทหน้าที่กำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ให้คำปรึกษา แนะนำ และสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น รายงานผลการจัดการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และมีอำนาจหน้าที่อื่น ที่ได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป
ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) นอกจากจะยึดหลักการของ SBM และแนวทางตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติแล้ว เงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่ง คือ กฎ ระเบียบที่จะนำสู่การปฏิบัติ จะต้องมีความชัดเจนนำไปปฏิบัติได้และจะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารการศึกษาต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ของตนเอง เพื่อให้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐาน
แนวคิดเรื่องการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นได้รับอิทธิพลมาจากกระแส การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จจาก หลักการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ สร้างกำไรและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น ความสำเร็จดังกล่าวนี้ทำให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นนั้น ต้องปรับกระบวนการและวิธีการที่เคยเน้นแต่เรื่องการเรียนการสอน ปรับไปสู่การบริหารโดยการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนที่เป็นหน่วยปฏิบัติและ ให้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริง
ความหมาย
คำว่า School-Base-Management หรือ SBM เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 1980 ในภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติ ศัพท์ที่แน่นอน ส่วนมากนิยมทับศัพท์ว่า School-Base-Management หรือเรียกย่อๆ ว่า SBM ส่วนคำว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน นั้นเป็นคำที่ เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์ และคณะ กำหนดขึ้นแทนคำว่า School-Base-Management ในการวิจัยเรื่อง การกระจายอำนาจจัดการศึกษา พ.ศ.2541 (เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์และคณะ,2541) มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ไว้แตกต่างกัน เช่น
อุทัย บุญประเสริฐ (2542:2) กล่าวว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษา โดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน โดยให้คณะกรรมการโรงเรียน (School Council หรือ School Board) ได้มีอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ โดย ให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน วิระวัฒน์ อุทัยรัตน์ (2544:1) ให้ความหมายการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารโรงเรียนตามความต้องการและจำเป็นของสถานศึกษา โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ร่วมคิด(Plan)ร่วมตัดสินใจ (Decision-Making) ร่วมทำ (Implementation) และร่วมประเมิน (Evaluation) โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาของ สถานศึกษา
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามความต้องการ จำเป็นของโรงเรียนและท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Strkeholders) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน นักเรียน และองค์กรอื่น ๆ มารวมพลังกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรและดำเนินการ พัฒนากิจกรรม / งานของสถานศึกษาในระยะสั้น และระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการ
หลักการสำคัญในการบริหารแบบ (School-Based Management ) โดยทั่วไป ได้แก่
1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษา ให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา เด็ก
2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้งครู ผู้ปกครองตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น
3. หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) ในอดีตการจัดการศึกษาจะทำหลากหลายทั้งวัดและองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนิน การ ต่อมามีการร่วมการจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่าง ๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เกิดความล่าช้าและไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง
4. หลักการบริหารตนเอง (Self-managing) ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมายแล้วปล่อยให้ โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลายด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มี คุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนดและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติ
จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐาน จะเป็นการบริหารงานที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการ จัดการศึกษาที่ผ่านมา
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
จากการศึกษาพบว่า มีรูปแบบที่สำคัญอย่างน้อย 4 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก (Administration Control SBM) ผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการอื่น ๆ ได้จากการเลือกตั้งหรือคัดเลือกจากกลุ่มผู้ปกครอง ครู และชุมชน คณะกรรมการมีบทบาทให้คำปรึกษา แต่อำนาจการตัดสินใจยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน
2. รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก (Professional Control SBM) เกิดจากแนวคิดที่ว่า ครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด ย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ตัวแทนคณะครูจะมีสัดส่วนมาก ที่สุดในคณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหารยังเป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
3. รูปแบบที่ชุมชนมีบทบาทหลัก (Community Control SBM) แนวคิดสำคัญ คือ การจัดการศึกษาควรตอบสนองความต้องการและค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชนมากที่ สุด ตัวแทนของผู้ปกครอง และชุมชนจึงมีสัดส่วนในคณะกรรมการโรงเรียนมากที่สุด ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนเป็นประธานคณะกรรมการ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการ บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการ โรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
4. รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก (Professional Community Control SBM) แนวคิดเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้งครูและผู้ปกครองต่างมีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มต่างอยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด รับรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีที่สุด สัดส่วนของครูและผู้ปกครอง (ชุมชน) ในคณะกรรมการโรงเรียนจะมีเท่า ๆ กันแต่มากกว่าตัวแทนกลุ่มอื่น ๆ ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธาน บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
สำหรับประเทศไทย ได้ยึดเอารูปแบบที่ 3 คือ รูปแบบชุมชนมีบทบาทหลัก ซึ่งเป็นผลจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ปัจจัยที่เอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้
1. กระจายอำนาจหน้าที่การบริหารจากหน่วยงานบริหารส่วนกลางไปยังคณะกรรมการโรงเรียนอย่างแท้จริง
2. ได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
3. มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ข้อมูล สารสนเทศตรงกัน
4. บุคลากรในสำนักงานเขตการศึกษาและในโรงเรียนจะต้องได้รับการอบรม หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

เลี้ยงส่งอาจารย์

หลังจากจบการเรียนไป 2 วิชา พวกเราทุกคนต่างก็มีความสุขเพราะรู้ว่ตัวเอง
จบปริญญาโทแน่นอน ยินดีกับมหาบัณฑิตทุกท่านค่ะ (ขอขอบคุณภาพจาก P'ขาล k.สุวิจักขณ์ ....จ้า)

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนะนำสมาชิกในครอบครัว..... แบบว่าอยากให้รู้จักจ้า ท่องเที่ยวเขาใหญ่ ......สบาย สบาย .. สไตล์ครูแป๋ม

กฎของการเปลี่ยนแปลง

“การบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ การค้นหาปัญหาและหาทางแก้ปัญหานั้น”
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “กระบวนการแก้ปัญหา” การบริหารการเปลี่ยนแปลงคือการนำบริษัทจากสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วก็คือ การเริ่มจากสภาวะที่มีปัญหาไปสู่สภาวะที่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
การทำงานทุก ๆ วัน หากเป็นเพียงการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ สิ่งที่จะได้รับก็คือผลงานที่เหมือน ๆ เดิมทุกวัน การได้รับผลงานที่เหมือนเดิมทุกวันนั้นไม่เพียงพอแล้วสำหรับยุคปัจจุบันนี ้ ดังเช่น ไอน์สไตน์ (Einstein) กล่าวไว้ว่า จงทำสิ่งเดียวกันซํ้า ๆ กันหลายครั้ง แต่ให้ได้ผลลัพธ์ที่ ต่างกัน ซึ่งหมายถึงว่า หากเรา ต้องการผลลัพธ์ที่ ต่างกัน เราจะต้องเปลี่ ยนแปลงทั้งตัวเราเอง กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ หรือเปลี่ ยนแปลง ทุก ๆ อย่าง
อย่างไรก็ตามการเปลี่ ยนแปลงเป็ นสิ่งที่ ยากสำหรับมนุษย์ บ่อยครั้งที่ ผู้นำบอกให้คนอื่น ๆ เปลี่ยนแปลง แต่ตัวเองไม่ยอมเปลี่ยน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นใน องค์กรได้อย่างแน่นอน ผู้นำต้องเข้าใจว่า ทำไมบริษัทที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงและมีผลกําไรดีอยู่แล้ว ซึ่งมีอยู่ไม่กี่บริษัทในโลกนี ้ ถึงทำการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่อีกหลายบริษัทที่แย่อยู่แล้วก็ไม่ยอม เปลี่ยนแปลงเลยและยังทำในสิ่งเดิม ๆ ที่เคยทำมาโดยได้ผลลัพธ์เท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา จึงขอสรุปกฎของการ บริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้นำไว้ 10 ประการ
1. หากเราทำในสิ่งเดิม ๆ ที่ เราเคยทำสำเร็จเสมอ เราก็จะได้ในสิ่งเดิม ๆ ที่ เราเคยได้อยู่เสมอ
2. การเปลี่ ยนแปลงยากเสมอสำหรับคนที่ ไม่รู้ว่าจะเปลี่ ยนไปทำไม, เพื่ อใครและเส้นทางการ เปลี่ยนแปลงนั้นจะไปสิ้นสุดที่ไหน ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญสำหรับองค์กรจะต้องมีกลไก การสื่อสารที่ยอดเยี่ยมเป็ นตัวสนับสนุน
3. การเปลี่ยนแปลงจะต้องดำเนินไปด้วยความสมดุล ไม่เฉพาะต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เท่านั้น แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตลอดทั้งกระบวนการ
4. ผู้นำจะต้องใช้กลยุทธ์กับพนักงานของตน ต้องแสดงให้เห็นว่า พวกเขามีส่วนร่วมที่สำคัญในการ สร้างความสำเร็จให้กับองค์กร ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้นำได้รับคำมั่นสัญญาในการทำงานจากลูกน้องมาก ยิ่งขึ้น
5. ผู้นำจะต้องมีความอดทน อยู่ในร่องในรอยและไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ
6. เมื่อจะทำการอบรมและชี้แนะแนวทางต่าง ๆ ในการเปลี่ ยนแปลงภายในองค์กรให้ผู้นำ ตั้งเป้ าหมายว่า จะต้องทำโดยเร่งด่วนทันทีในวันรุ่งขึ้น และจะต้องมีการอบรมพนักงานเก่าเพื่ อให้มีความ พร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนได้
7. ผู้บริหารองค์กรต้องเขียนแผนในการเปลี่ ยนแปลงทันที รวมถึงลงมือเปลี่ ยนแปลงทันที ไม่ใช่ เลื่อนการดำเนินการในเรื่องนี้ออกไป ซึ่งจะส่งผลให้มีการเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ
8. การยอมรับหรือการแสดงความชื่นชมจะต้องเกิดขึ้นและเป็ นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการ เปลี่ ยนแปลง ผู้นำจะต้องสังเกตผู้คนรอบตัวไม่ว่าจะเป็ นสมาชิกในครอบครัว, เพื่ อนร่วมงานหรือลูกน้อง ว่า มีสิ่งใดหรือใครที่ควรได้รับการชมเชยหรือยอมรับ และชมเชยพวกเขาในทันที
9. บทบาทเดิม ๆ จะต้องถูกเปลี่ ยน ทั้ งผู้นำและสมาชิกในทีมงาน
10.จงมีความสุขอยู่เสมอที่ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงกับตัวตน, ชีวิ ตและองค์กรของเรา
****************************************

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทกลอนสอนใจ

เคยคิดอยู่เหมือนกัน...
ว่าทุกวันนี้ฉันต่อสู้เพื่อใคร
เพื่อตัวฉันเองใช้ไหม?
หรือเพื่อลมหายใจที่เฝ้ารอ..
สรุปแล้วก็คงเป็นทุกๆ อย่าง
ก็มีบ้างที่ฉันท้อ
กับอุปสรรค์มากมาย...ที่เฝ้ารอ
เพราะอะไรคงไม่สำคัญเท่า...
กับการที่เราต้องต่อสู้เพื่อความฝัน
เพื่อทำให้มันเป็นจริงให้ได้...
เพื่อเรา..เพื่อใคร...บางคนข้างหลังที่คอยชื่นชม